Author |
Share Topic Topic Search Topic Options
|
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Topic: ข่าวสารบ้านจิงโจ้-สิทธิที่พึงได้รับจากรัฐ Posted: 01 Apr 2013 at 18:26 - IP: 121.221.29.67  |
เฟสบุ๊ค บ้านจิงโจ้และ คนไทยในออสเตรเลีย ใครอยากไปรู้จักกันทางเฟสเชิญไปร่วมได้จ้า รายงานตัวกันนิดว่าใครเป็นใครจากบ้านเรานะคะ ++++++++++++++++++
ใครจะไปต่อพาส หรือทำอะไรกับกงศุลที่เพิร์ท ตามนี้ค่ะ ข่าวล่าสุด กงศุลกลับมาเปิดให้บริการที่เพิร์ทแล้วสามารถติดต่อได้ที่
ที่อยู่ของสถานกงศุลไทยประจำเมืองเพิร์ท
28-42 Ventnor Ave., West Perth, WA, 6005
Tel: 08 9226 2288
ทราบข่าวมาจากทางกงศุลว่า ออฟฟิชที่เปิดที่ West Perth จะรับ
ทำแค่วีซ่ากับรับรองเอกสารเท่านั้นนะคะ ส่วนพาสปอร์ทก็ต้องรอ กงศุลสัญจรที่มาปีละครั้งต่อไปค่ะเช่นเดิมค่ะ
เอกสารที่แปลจะ certify ใช้วุฒิ NAATI ค่ะ
Edited by patty11 - 24 Jan 2014 at 13:52
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
|
|
 |
mick_123
Groupie
Joined: 26 Mar 2012
Location: Australia
Online Status: Offline
Posts: 60
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 02 Apr 2013 at 03:02 - IP: 220.244.202.167  |
พี่กำลังรออยู่ที่เมลเบินค่ะ พอมีข้อมูลไหมค่ะ แต่พี่ จะลองโทรไปถามว่าประมาณวันไหนเดือนไหนดูค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
|
|
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 02 Apr 2013 at 07:05 - IP: 124.149.134.84  |
Originally posted by mick_123
พี่กำลังรออยู่ที่เมลเบินค่ะ พอมีข้อมูลไหมค่ะ แต่พี่ จะลองโทรไปถามว่าประมาณวันไหนเดือนไหนดูค่ะ ขอบคุณมากค่ะ |
สำหรับท่านที่้ต้องการทำหนังสือเดินทางใหม่ที่สถาน กงสุลไทยเมลเบร์น จะมีคณะทำพาสปอร์ตสัญจรลงมาที่สถานกงสุลไทยเมลเบร์น หนึ่งถึงสองครั้งต่อปี ท่านจะต้องลงชื่อและเบอร์ติดต่อกลับไว้ที่สถานกงสุลไทยเมลเบร์น สถานกงสุลจะติดต่อกลับไปเพื่อนัดวันเข้ามาทำหนังสือเดินทาง สามารถติดต่อลงชื่อได้ที่เบอร์โทร (03) 9533 9100 ปล. จากที่โทรไปสอบถามมาปีนี้ยังไม่มีคณะสัญจรเดินทางมานะคะ http://www.thaiconsulatemelbourne.com/thaipassport.php
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
JBear
Senior Member
Joined: 19 Jan 2010
Location: Australia
Online Status: Offline
Posts: 228
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 02 Apr 2013 at 09:37 - IP: 210.80.213.194  |

Edited by JBear - 18 Sep 2013 at 09:47
|
|
|
 |
Natalee_pink
Senior Member
Joined: 03 Mar 2010
Location: Australia
Online Status: Offline
Posts: 277
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 02 Apr 2013 at 19:33 - IP: 203.45.143.185  |
ฝั่งทางเมลเบริ์นโทรไปสอบถามและลงชื่อไว้เรียบร้อยแล้วคะ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าคณะสัญจรจะลงมาเดือนพฤษภาคมคะ ดต่วันที่เท่าไหร่นั้นยังไม่สามารถบอกได้คะ
|
|
|
 |
New_Mcgrath
Senior Member
Joined: 25 Aug 2012
Online Status: Offline
Posts: 176
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 03 Apr 2013 at 03:51 - IP: 58.167.90.145  |
ฝั่งแคนเบอร่ามีไหมคะ เผื่อมีจะได้ไปคะ เพราะทางนี้จะเดินทางใกล้กว่า ขอบคุณคะ
|
|
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 04 Apr 2013 at 10:42 - IP: 124.149.134.84  |
แพตรวบรวมรายชื่อวัด และ สถานที่ติดต่อสถานทูตทุกรัฐมาไว้ให้ตามด้านล่างนะคะ สำหรับเพื่อนๆที่อยากไปวัดใกล้ที่ไหน ก็ตามนี้ค่ะAustralian Capital Territory | | Embassy | Royal Thai Embassy, Canberra 111 Empire Circuit Yarralumla ACT 2600 Phone: (02) 6206 0100 Email: thaican@mfa.go.th | | Temple | Wat Dhammadharo 80 Archibald Street, Lyneham ACT 2602 Phone: (02) 6249 8594 Email: dhammadharo@yahoo.com.au
| | | | New South Wales | | Consulate General | Royal Thai Consulate General, Sydney Level 8, 131 Macquarie Street Sydney, NSW 2000 Phone: (02) 9241-2542, 9241-2543 Email: thaisydney@thaiconsulatesydney.org
Business Hours: Visa Application Lodging: Mon-Fri 9.30 - 12.30 Passport Collection: Mon-Fri 14.00 - 15.00
Consul-General Mr. Biravij Suwanpradhes | | Other government authorities | Thai Trade Centre Suite 2102, Level 21, 56 Pitt Street Sydney NSW 2000 Phone: 02 9241 1075 E-mail: thaitrade@ozemail.com.au | Board of Investment Address: Suite 101, Level 1, 234 George Street Sydney NSW 2000 Phone: 02 9252 4884 E-mail: thaiboi@tpg.com.au | Tourism Authority of Thailand Address: Suite 2000, Level 20, 56 Pitt Street Sydney NSW 2000 Phone: 02 9247 7549 E-mail: info@thailand.net.au | | Temple | Sunnataram Forest Monastery 225 Teudts Road Bundanoon NSW 2578 Phone: (02) 4884 4262 | Wat Buddharangsee, Annandale 49 Trafalgar Street Annandale, Sydney NSW 2038 Phone: (02) 9557 2879 Wat Buddharangsee, Stanmore 88 Stanmore Road, Stanmore NSW 2048 Phone: (02) 9557 2039 | Wat Pa Buddharangsee Buddhist Forest Monastery 39 Junction Road Leumeah NSW 2560 Phone: (02) 4625 7930 E-mail: watpa.buddharangsee@gmail.com | Dhammakaya International Society of Australia Inc. The Retreat, Inspiration Place Berrilee NSW 2159 Phone: (02) 9655 1128 | Wat Phrayortkeo Dhammayanaram (The Lao Buddhist Society of NSW Inc.) 711-715 Smithfield Road Edensor Park NSW 2176 Phone: (02) 9823 7338 or (02) 9610 9075 | | | | Queensland | | Consulate General | Royal Thai Consulate General, Brisbane 87 Annerley Road South Brisbane QLD 4102 Phone: (07) 3846 7771 Email: admin@thaiconsulate.org
Business Hours: Mon-Fri 9.30 - 15.30
Honorary Consul-General Mr. William JJ Dunn | | Temple | วัดเขมะรังษี 14 Chirio Close Redlynch, Cairns QLD 4870 Phone: (07) 4039 1155 | วัดป่าธรรมจักรสุขุม 7 Mt Kulburn Drive Jensen QLD 4818 Phone: (07) 4751 6038 | วัดสังฆรัตนาราม โกล์ดโคสท์ 137 Beaudesert-Nerang Road Nerang QLD 4211 Phone: (07) 5502 0464 | วัดไทยพุทธาราม 1 Paradise Road Forestdale QLD 4118 Phone: (07) 3806 8900 | | | | South Australia & Northern Territory | | Consulate General | Royal Thai Consulate General, Adelaide 6th floor, 185 Victoria Square Adelaide SA 5000 Phone: (08) 8218 4848 Email: jwalt@chariot.net.au
Business Hours: Mon-Fri 11.00 - 15.00
Honorary Consul-General Mrs. Jaye Walton | | Temple | วัดรัตนประทีปวิหาร 45 Smith Street Thebarton SA 5031 Phone: (08) 8443 5856 | | | | Victoria | | Consulate General | Royal Thai Consulate General, Melbourne Suite 301, 566 St. Kilda Road Melbourne VIC 3004 Phone: (03) 9533 9100 Email: thaiconsulatemelbourne@566.com.au
Business Hours: Mon-Fri 9.30 - 14.00
Honorary Consul-General Dr. Simon A Wallace | | Temple | วัดพุทธวชิระ 939 Canterbury Road Box Hill VIC 3128 Phone: (03) 9899 0638 | วัดธรรมรังษี 387-389 Springvale Road Forest Hill VIC 3131 Phone: (03) 9878 6162 | Wat Thai Nakorn Melbourne 489 Elgar Road Box Hill VIC 3128 Phone: (03) 9899 0883 | | Restaurant and other businesses | Little Thai Restaurant Centre Road, Melbourne City Education Centre Education agency in Melbourne CBD Sense of 5 Thai Massage and Spa in Melbourne CBD Dingley Thai Restaurant Dingley Village, Melbourne Co Co Thai Restaurant Elsternwick, Melbourne Frank Migration Solutions Ausralia Migration Agency | | | | Western Australia | | Temple | สำนักสงฆ์ โพธิยาน 216 Kingsbury Drive Serpentine WA 6125 Phone: (08) 9525 2420 | Dhammaloka Buddhist Centre 18-20 Nanson Way Nollamara WA 6061 Phone: (08) 9345 1711
| | | | Tasmania | | Consulate General | Royal Thai Consulate General, Hobart 83 Invercargill Road Mt. Nelson, Hobart TAS 7007 Phone: (03) 6224 3811 Mobile: 0439 871 133 Email: achalabun@austarnet.com.au
Business Hours: Mon Wed and Fri 11.00 - 14.00
Honorary Consul-General Mr. Abhirat Achalabun | |
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
New_Mcgrath
Senior Member
Joined: 25 Aug 2012
Online Status: Offline
Posts: 176
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 04 Apr 2013 at 12:34 - IP: 121.212.12.79  |
ขอบคุณมากเลยคะคุณแพต ที่มาอัพเดต
|
|
|
 |
HBD
Senior Member
bs 7868
Joined: 05 Jan 2013
Online Status: Offline
Posts: 140
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 04 Apr 2013 at 16:54 - IP: 27.55.151.215  |
ขอบคุณพี่แพตค่ะ วันนี้บอกแฟนว่าเสียดายฉันไม่ได้อยู่ที่โน่น ถ้าอยู่ฉันจะไปประกวดนางสงกรานต์ แฟนพูดว่า OMG 555
|
|
|
 |
yindiika
Senior Member
Joined: 26 Dec 2009
Location: Perth
Online Status: Offline
Posts: 437
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 04 Apr 2013 at 19:26 - IP: 101.119.16.32  |
|
|
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 08 Apr 2013 at 06:45 - IP: 124.149.134.84  |
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เริ่มดำเนินโครงการหนังสือเดินทาง
อิเล็กทรอนิกส์ (E-passport) ระยะที่ 2 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นมา
โดยหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ระยะที่ 2 จะมีจำนวนหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 66 หน้า จากเดิม
50 หน้า และคุณลักษณะด้านความปลอดภัยและการป้องกันการปลอมแปลง ที่เป็นมาตรฐาน
สากลมากยิ่งขึ้น โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมเท่าเดิมคือ 55 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ท่านที่ประสงค์
จะยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ทดแทนหนังสือเดินทางเล่มเก่า ที่หมดอายุหรือ
สูญหาย สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อนัดหมายได้ที่หมายเลข 02 6206 0119
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
pokemoncm
Groupie
Joined: 16 Jan 2013
Location: chiangmai
Online Status: Offline
Posts: 63
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 08 Apr 2013 at 15:38 - IP: 223.205.149.57  |
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารดีๆๆค่ะ ^^
|
|
thank you for all help ^^
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 30 Apr 2013 at 10:51 - IP: 124.149.134.84  |
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 30 Apr 2013 at 10:55 - IP: 124.149.134.84  |
การแต่งงานและการเสียสิทธิในเมืองไทย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามกฎหมายไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 4 ว่าด้วยเรื่อง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1475 กล่าวว่า ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือได้โดยพินัยกรรมซึ่งระบุให้เป็นสินสมรส หรือดอกผลของสินส่วนตัว ให้ถือว่าเป็นสินสมรส หมายความว่า สำหรับกฎหมายไทยนั้น ไม่ว่าสามีของคุณจะเป็นไทย เจ๊ก แขก ฝรั่ง ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากจดทะเบียนสมรสต้องเป็นสินสมรสหมด (นอกจากคุณจะจดทะเบียนแยกทรัพย์สินส่วนตัว ไว้กับนายทะเบียนตอนจดทะเบียนสมรส) ซึ่งเมื่อหย่ากันก็ต้องเอาสองหาร ถ้าสามีของคุณเป็นคนไทย แผ่นดินไทยก็ไม่เดือดร้อนอะไร เท่าไรถ้าคุณจะต้องแบ่งบ้านและที่ดินให้สามี เพราะถือว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน แต่ถ้าเกิดสามีเป็นคนต่างชาติ ก็จะไปขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 ซึ่งห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ยกเว้นแต่จะถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้า อันจะนำประโยชน์มาสู่ประเทศไทย แต่งงานกับฝรั่งแล้ว เหมือนถูกพันธนาการ การหาวิธีการต่างๆ ที่จะซื้อบ้านซื้อที่ดินหลังจากจดทะเบียนสมรสกับคนต่างด้าว แทบจะกลายเป็นวงจรชีวิตของคนไทย ที่แต่งงานมาอยู่ต่างประเทศ บางคนก็หาวิธี ไม่ยอมเปลี่ยนนามสกุล และเปลี่ยนบัตรประชาชน ใช้นามสกุลเดิมเพื่อปกปิดการสมรสในประเทศไทย หรือทำให้สามีเข้าใจว่าเขามีกรรมสิทธิร่วมในที่ดิน เป็นต้น วิธีการที่ถูกกฎหมายคือ เมื่อถูก "กฎหมายยอก" ก็ต้องเอา "กฎหมายมาบ่ง" เช่น
- เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้าน กฎหมายอนุญาตให้คนต่างด้าวเช่าที่ดินได้ 30 ปี และต่ออายุไปอีกจนถึง 90 ปี
- ซื้อที่ดิน (ใครจะเป็นคนซื้อก็ได้) แล้วลงชื่อให้เป็นกรรมสิทธิ์ของญาติพี่น้อง (ซึ่งไว้ใจกันได้) แล้วคุณก็ทำสัญญาเช่าหลายสิบปี ถ้าคุณหย่ากับสามีฝรั่งแล้ว ก็คุณก็สามารถไปโอนชื่อกลับมาเป็นของคุณได้ โดยมีใบสำคัญการหย่าไปแสดงเป็นหลักฐาน
ขอเตือนอย่างหนึ่งว่า ควรเล่นมือสะอาด ในกรณีที่สามีของคุณเป็นผู้ออกเงินให้ซื้อ จะต้องให้เขารับทราบว่า เขาไม่มีส่วนร่วมในกรรมสิทธิ์ที่ดินนี้ แต่เขามีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้ถ้าจะเอากันขนาดถึงโรงถึงศาล - กฎหมายอนุญาตให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินแบบนิติบุคคลได้ (เพื่อทำกิจการธุรกิจ) ในเรื่องนี้ขอให้ดู
- กรมที่ดินวางระเบียบไว้ว่า ถ้าผู้หญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว นำเงินที่เป็นสินส่วนตัวไปซื้อที่ดิน โดยนำหลักฐานการงานและรายได้ไปแสดงให้กรมที่ดินเชื่อได้ ก็รับที่จะจดทะเบียนให้ โดยถือว่าที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัว
ในเรื่องนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471 และ 1472 กล่าวไว้ว่า สินส่วนตัวคือทรัพย์สินที่มีมาก่อนสินสมรส หรือได้รับมรดก หรือได้รับโดยเสน่หาในระหว่างการสมรส และถ้าทรัพย์สินนั้นได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่น โดยการซื้อหรือขาย ก็ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ให้สามีและภรรยาทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันได้ในระหว่างสมรส ดังนั้น สามีก็อาจจะทำสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องสิทธิในกรรมสิทธิ์ของที่ดินที่ภรรยาซื้อ และถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยาแต่เพียงผู้เดียว สัญญานี้คุณอาจจะให้สามีทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำไปยื่นให้กรมที่ดิน แต่ประมวลกฎหมายมาตรานี้กล่าวต่อไปว่า "ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต"
คนต่างชาติไม่มีสิทธิในที่ดิน แต่มีสิทธิในเงินค่าที่ดิน ถ้าคนต่างชาติออกเงินค่าซื้อที่ดินเพื่อหวังจะใช้ประโยชน์ หรือถ้าคนต่างชาติถูกชักชวนให้ซื้อที่ดิน โดยไม่รู้ว่าตนไม่ได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ เมื่อเขาจะต้องสูญเสียที่ดินนั้นไปด้วยเหตุใดก็ตาม เขาสามารถฟ้องศาลเอาเงินคืนได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคนต่างชาติออกเงินค่าซื้อที่ดินเพื่อหวังจะใช้ประโยชน์ หรือถ้าคนต่างชาติถูกชักชวนให้ซื้อที่ดิน โดยไม่รู้ว่าตนไม่ได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ เมื่อเขาจะต้องสูญเสียที่ดินนั้นไปด้วยเหตุใดก็ตาม เขาสามารถฟ้องศาลเอาเงินคืนได้ สามีภรรยา (ฝรั่ง-ไทย) คู่หนึ่งช่วยกันออกเงินซื้อบ้านและที่ดินในประเทศไทยเพื่อจะอยู่ร่วมกัน โดยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์บ้านที่ดินเป็นของผู้หญิงฝ่ายเดียว (เนื่องจากฝ่ายชายไม่มีสิทธิ) ต่อมาทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกัน ขณะยังผ่อนส่งบ้านยังไม่หมดและหม้อข้าวก็ยังไม่ทันจะดำ ทั้งคู่ก็แยกทางกัน เมื่อดูตามรูปการณ์แล้ว บ้านและที่ดินควรจะต้องตกเป็นของฝ่ายหญิงอย่างแน่นอน เพราะได้มาก่อนการสมรส จึงถือเป็นสินส่วนตัว แต่ฝ่ายชายยึดถือหลักความจริง จึงไปขึ้นศาลไทย ศาลไทยได้ตัดสินออกมาว่า ทั้งสองฝ่ายช่วยกันออกเงินซื้อบ้านหลังนั้นเพื่อจะใช้อยู่ร่วมกัน เมื่อจุดประสงค์นี้หมดสิ้นไป ฝ่ายชายก็มีสิทธิได้ส่วนของเขาคืนไป ฝ่ายหญิงต้องขายบ้านนั้นเอาเงินมาแบ่งให้ฝ่ายชายครึ่งหนึ่ง (คำพิพากษาศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร วันที่ 6 กรกฎาคม 2531)
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 May 2013 at 11:27 - IP: 124.149.134.84  |
อันนี้เอาหัวข้อการฟ้องหย่า หรือ หากมีเหตุจำเป็นต้องหย่ากับชาวต่างชาติมาแปะไว้ให้อ่านกันนะคะ พอดีเห็นมีหัวข้อการขอหย่ากับคนออสเตรเลียค่ะ และ คุณพำนักอยู่ที่ บริสเบน,ควีนแลนด์ ก็ไม่จำเป็นต้องจ้างทนายความก็ได้ค่ะ ให้ไปยื่นคำร้อง หรือกรอกแบบฟอร์มที่ Legal Aid Community Divorce Scheme (สมาคมช่วยเหลือทางด้านกฎหมายเกียวกับการหย่า) ได้เลยค่ะ แต่เฉพาะที่บริสเบน,ควีนแลนด์เท่านั้นนะคะ
Edited by patty11 - 06 May 2013 at 11:28
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 May 2013 at 11:35 - IP: 124.149.134.84  |
แล้วถ้าต้องฟ้องหย่า หากจดทะเบียนในเมืองไทยก็ทำตามดังนี้
พรบ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฏหมาย พ.ศ.2481 (กฏหมายขัดกัน) มาตรา ๑๙ เงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย มาตรา ๒๐ วรรค ๑ การสมรสซึ่งได้ทำถูกต้องตามแบบที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งประเทศที่ทำการสมรสนั้น ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ การสมรสระหว่างคนในบังคับสยาม หรือคนในบังคับสยามกับคนต่างด้าว ซึ่งได้ทำในต่างประเทศโดยถูกต้องตามแบบที่กฎหมายสยามกำหนดไว้ ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ มาตรา ๒๑ วรรคที่ ๑ ถ้าคู่สมรสมีสัญชาติอันเดียวกัน หรือถ้าภริยาได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สมรส มาตรา ๒๑ วรรคที่ ๒ ในกรณีที่ภริยามิได้ได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี มาตรา ๒๒ ถ้ามิได้มีสัญญาก่อนสมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ ถ้าสามีและภริยามีสัญชาติแตกต่างกัน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติแห่งสามี มาตรา ๒๑ วรรคที่ ๑ อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ มาตรา ๒๓ ผลแห่งการสมรสดั่งบัญญัติไว้ในสองมาตราก่อนย่อมไม่ถูกกระทบกระทั่ง หากว่าภายหลังการสมรส คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้มาซึ่งสัญชาติแตกต่างกับที่มีอยู่หรือที่ได้มาขณะทำการสมรส มาตรา ๒๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ถ้าทำสัญญาก่อนสมรส ความสามารถที่จะทำสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งคู่สัญญาแต่ละฝ่าย มาตรา ๒๕ วรรคที่ ๑ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่งสัญญาก่อนสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่งสัญญาก่อนสมรสเช่นว่านั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งคู่สัญญาเจตนา หรือพึงสันนิษฐานได้ว่าได้มีเจตนาที่จะยอมอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายนั้น ถ้าไม่มีเจตนาเช่นว่านั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่สมรสตั้งภูมิลำเนาครั้งแรกหลังจากการสมรส มาตรา ๒๕ วรรคที่ ๑ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ มาตรา ๒๖ การหย่าโดยความยินยอมย่อมสมบูรณ์ ถ้ากฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้ มาตรา ๒๗ ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า มาตรา ๒๘ การเพิกถอนการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่เงื่อนไขแห่งการสมรส อย่างไรก็ดี ความสำคัญผิด การฉ้อฉล หรือการข่มขู่ อันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ได้กระทำการสมรส
**สรุปว่าจะฟ้องหย่าก็ต้องมีเหตุฟ้องหย่าตาม ปพพ.มาตรา1516 และทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องว่ากันไปตามกฏหมายภายในประเทศสามี ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามถิ่นที่อสังหาฯ นั้นตั้งอยู่อ่ะค่ะ**
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
panavas
Senior Member
Joined: 15 Jan 2010
Location: thai
Online Status: Offline
Posts: 1657
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 10 May 2013 at 11:55 - IP: 58.165.49.106  |
น้องค่ะ ขอสอบถามหน่อยค่ะ ในการทำพาสปอร์ต อยากรู้ว่าถ้าจะทำพาสปอร์ตก่อนและหลังหมดอายุกี่วันค่ะ ก่อนหมด และหลังหมดนะค่ะ และถ้าเราจะเปลี่ยนพาสปอร์ตให้มันตรงกันทั้งของลูกและของเราเพื่อง่ายต่อการต่อครั้งต่อไปได้เปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ
|
|
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 10 May 2013 at 22:02 - IP: 124.149.134.84  |
Originally posted by panavas
น้องค่ะ ขอสอบถามหน่อยค่ะ ในการทำพาสปอร์ต อยากรู้ว่าถ้าจะทำพาสปอร์ตก่อนและหลังหมดอายุกี่วันค่ะ ก่อนหมด และหลังหมดนะค่ะ และถ้าเราจะเปลี่ยนพาสปอร์ตให้มันตรงกันทั้งของลูกและของเราเพื่อง่ายต่อการต่อครั้งต่อไปได้เปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ | พี่จะทำที่ไทยหรอคะ เอาตรงๆลักไก่แจ้งพาสปร์อตชำรุด หรือ หาย เพื่อทำใหม่ได้คะ เพื่อนแพตทำมาแล้วค่ะ แต่จะให้ไปทำเลย ทำไมได้ ถ้ายังเหลืออายุมากกว่า 6 เดือนก็ทำไมได้ ค่ะตามหลักการ แต่ถ้าอายุเหลือน้อยกว่า 6 เดือนควรแจ้งขอทำใหม่ได้เลยคะถ้ากลับไทย ถ้าไม่ยอมทำให้ ไปแจ้งความหาย หรือเอาน้ำราดเลยค่ะ แหะๆ อันนี้วิชามารนะคะ
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
panavas
Senior Member
Joined: 15 Jan 2010
Location: thai
Online Status: Offline
Posts: 1657
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 11 May 2013 at 10:23 - IP: 58.165.49.106  |
ขอบคุณ น้องแพตมากค่ะ ถ้ามีทำต่อพาสที่เมลเบริ์นก็ทำที่เมลเบิร์นได้ค่ะ ยิ่งดีค่ะ เพราะจะได้ไม่ต้องกังวล หมดก็ต่อที่นี่ได้เลยค่ะ คือ ตอนนี้พี่ดูพาสปอร์ตพี่ และลูกอีกสองคน แต่ละคนหมดอายุไม่ตรงกัน พี่ก็เลยคิดว่า ถ้าพี่กลับไทยปีหน้าจะไปทำให้มันตรงกันหมดทุกคนเพื่อง่ายต่อการต่อครั้งใหม่นะค่ะ
|
|
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 13 May 2013 at 13:18 - IP: 124.149.134.84  |
Originally posted by panavas
ขอบคุณ น้องแพตมากค่ะ ถ้ามีทำต่อพาสที่เมลเบริ์นก็ทำที่เมลเบิร์นได้ค่ะ ยิ่งดีค่ะ เพราะจะได้ไม่ต้องกังวล หมดก็ต่อที่นี่ได้เลยค่ะ คือ ตอนนี้พี่ดูพาสปอร์ตพี่ และลูกอีกสองคน แต่ละคนหมดอายุไม่ตรงกัน พี่ก็เลยคิดว่า ถ้าพี่กลับไทยปีหน้าจะไปทำให้มันตรงกันหมดทุกคนเพื่อง่ายต่อการต่อครั้งใหม่นะค่ะ | ค่ะพี่ถ้า กลับไทยไปทำที่ไทย ได้เลย แต่ต้องดูอายุในพาสอะคะ หรือ ไม่ก็ต้องอาศัยวิชามาร แบบที่ว่าแระคะพี่ไม่งั้นเขาคงไม่ยอมทำให้เราอะคะถ้า เล่มเรายังดี ๆนะคะ
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 14 May 2013 at 12:42 - IP: 124.149.134.84  |
เพิ่มเติมสำหรับคนที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงพาสปร์อตเล่มใหม่นะคะ จริงเท็จอย่างไร ถ้าใครมีป ปสก.โดยตรงก็ช่วยนำมาแชร์เพิ่มเติมข้อมูลให้เพื่อนๆในบ้านทราบด้วยอีกทางนะคะ อันนี้แพตเอามาจากที่เขาลงไว้ในกลุ่มคนไทยในออสเตรเลียอีกทีนะคะ
เทคนิค-คำแนะนำ การแจ้งเปลี่ยนที่อยู่หรือพาสปอร์ตใหม่แก่อิมมิเกรชั่น
บางครั้งหลังจากที่เราได้ดำเนินการด้านวีซ่าอะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น พาสปอร์ตหาย เปลี่ยนพาสปอร์ตใหม่ หรือโยกย้ายที่อยู่ ซึ่งหน้าที่ของเรา (เพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง) ก็คือจะต้องแจ้งให้อิมฯ ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเปลี่ยนพาสปอร์ต เพราะข้อมูลวีซ่าของเราจะลิงก์กับหมายเลขพาสปอร์ตที่เราแจ้งในขณะยื่นขอวีซ่า ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนพาสปอร์ตโดยไม่แจ้งให้อิมฯ รู้ เราก็จะไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียด้วยพาสปอร์ตใหม่นั้นได้
การดำเนินการแจ้งเปลี่ยนนี้สามารถทำได้ดังนี้
ฟอร์มที่ต้องใช้ การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลพาสปอร์ตหรือที่อยู่ รวมทั้งข้อมูลเอเจ้นที่เราอนุญาตให้ติดต่อเรื่องของเราโดยตรงกับอิมฯ ได้นั้น สามารถทำได้ง่ายมาก ไม่ว่าเราจะอยู่ในออสเตรเลียหรือเมืองไทย มีระบบการดำเนินการเหมือนกันทุกประการ ต่างกันก็แค่สถานที่ในการติดต่อเพื่อยื่นหรือจัดส่งเอกสารเท่านั้นเองครับ
1. Form 929 - Chang of address and/or passport details - แบบฟอร์มแจ้งเปลี่ยนที่อยู่และข้อมูลพาสปอร์ต
การกรอกแบบฟอร์ม ฟอร์ม 929 นั้นไม่ยาวมากนัก และบางส่วนก็ไม่จำเป็นต้องกรอก ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน ซึ่งถ้าเราต้องการเปลี่ยนแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็กรอกลงไปแค่นั้นครับ ผมได้อธิบายเป็นภาษาไทยเอาไว้ในตัวอย่างพอสมควรแล้ว และน่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก
ส่วนไหนที่ผมว่างเอาไว้หรือกาเครื่องหมายหน้าตัวเลือกใดๆ โดยไม่มีคำอธิบายประกอบเพิ่มเติม ก็ให้กาไปตามนั้นเลย เพราะผู้สมัครคนไทยเกือบทั้งหมดจะต้องกรอกแบบนี้ ยกเว้นเป็นบุคคลที่มีกรณีพิเศษด้านสถานภาพทางวีซ่า หรือสุขภาพ หรืออื่นๆ อันนี้ค่อยว่าเป็นกรณีๆ ไปครับ
กรุณาคลิกที่ลิงก์ข้างล่างนี้เพื่อดูตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มครับ
ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์ม 929
ค่าธรรมเนียม การแจ้งเปลี่ยนข้อมูลไม่มีค่าธรรมเนียม
เอกสารที่ต้องแนบไปด้วย กรณีอยู่ในออสเตรเลีย จะต้องถ่ายเอกสารหน้าพาสปอร์ต (หรือพาสปอร์ตใหม่กรณีแจ้งเปลี่ยนพาสปอร์ต) หากยื่นเองที่เคาน์เตอร์ ไม่จำเป็นต้องให้ JPเซ็นรับรอง แต่ถ้าส่งทางไปรษณีย์จะต้องให้ JP เซ็นรับรองด้วย
กรณีอยู่ในประเทศไทย จะต้องถ่ายเอกสารหน้าพาสปอร์ต (หรือพาสปอร์ตใหม่กรณีแจ้งเปลี่ยนพาสปอร์ต) พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องด้วยเสมอไม่ว่าจะส่งด้วยวิธีใดก็ตาม
การยื่นเอกสารด้วยตัวเอง กรณีอยู่ในออสเตรเลีย เราสามารถไปติดต่อที่เคาน์เตอร์ที่สำนักงานอิมมิเกรชั่นที่ใดก็ได้ที่คุณสะดวกได้เลยครับ ไม่จำเป็นต้องบุคล่วงหน้า แค่ไปยื่นเฉยๆ
กรุณาคลิกที่ลิงก์ด้านล่างเพื่อดูรายละเอียดสถานที่ตั้งสำนักงานในแต่ละเมือง (ความจริงมีรายละเอียดในฟอร์มให้อยู่แล้ว) ที่ตั้งสำนักงานอิมมิเกรชั่น (DIAC Offices) - ในเมืองต่างๆ
กรณีอยู่ในเมืองไทย กรุงเทพหรือใกล้เคียง สามารถยื่นเอกสารด้วยตัวเองได้ที่สำนักงาน VFS ตามรายละเอียดที่อยู่ข้างล่างนี้
อาคารไทยซีซี ห้อง 2 3 ชั้น 34 889 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร : +66 (0) 26723476 / 77 / 78 / 79
การยื่นเอกสารทางไปรษณีย์ กรณีอยู่ในออสเตรเลีย สามารถยื่นเอกสารไปรษณีย์ได้ด้วยการเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยตามที่ระบุไปข้างต้น ส่งไปยังที่อยู่ในส่วนของ Postal Address ของสำนักงานในเมืองที่คุณอาศัยอยู่หรือใกล้เคียง ที่ตั้งสำนักงานอิมมิเกรชั่น (DIAC Offices) - ในเมืองต่างๆ
กรณีอยู่ในประเทศไทย สามารถยื่นเอกสารทางไปรษณีย์ได้ด้วยการเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยตามที่ระบุไปข้างต้น ส่งไปยังที่อยู่ข้างล่างนี้
สถานเอกอัคราชทูตออสเตรเลียกรุงเทพ 37 ถ.สาทรใต้ กรุงเทพ 10120
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 07 Jun 2013 at 12:50 - IP: 124.149.134.84  |
เอาเวบสั่งอาหารไทยมาให้ สาวๆไว้ได้หาสั่งของกินค่ะ เผื่อใครไม่มีที่หาซื้อ ไม่ได้มีเอี่ยวไรกะใครเขานะคะ แค่อยากช่วยสาวๆที่อยู่ออสเราเท่านั้นค่ะ
ร้านทรานในเพิร์ท TRANS ASIAN FOOD CENTRE PTY LTD 358 - 364 Newcastle St Northbridge, WA 6003 Tel: (08) 9228 3099 Fax: (08) 9228 3258
TON SIAN GROCERY 155 Palmerston St Perth, WA 6000 Tel: (08) 9328 9203 Fax: (08) 9228 6727
Edited by patty11 - 28 Jun 2013 at 12:20
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 29 Jul 2013 at 11:08 - IP: 124.149.134.10  |
ข้อมูลการแยกกันอยู่และ การขอหย่าในออสเตรเลีย คลิกไปอ่านในลิงค์นี้ค่ะ
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 02 Aug 2013 at 10:07 - IP: 124.149.134.10  |
นำมาฝากเพิ่มเติม จากข้อความของ เจ้าหน้าที่ ตม ในเรื่องการใช้ สองพาสปอร์ต จะได้ย้ำและเข้าใจมากขึ้น ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ท่านนี้นะค่ะ
ขออนุญาตให้ความรู้ผู้มีหนังสือเดินทาง 2 เล่ม 2 สัญชาติ ในกรณีนี้จะพูดถึง ผู้ที่เดิมเป็นคนไทย มีหนังสือเดินทางไทย แต่ต่อมา ได้มีหนังสือเดินทางของชาติอื่นเพิ่มมาอีกหนึ่งเล่ม หรือคนไทยที่เกิดที่ต่างประเทศมีหนังสือเดินทางต่างชาติมาก่อนแล้วมาทำหนังสือเดินทางอีกเล่มเป็นหนังสือเดินทางไทย หรือ คนไทยที่ไปอยู่เมืองนอกนานนนนนนนนจนพาสไทยหมดอายุ แต่มีพาสใหม่เป็นต่างชาิติ ต้องใช้พาสทั้งสองเล่มอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณ
(ขออนุญาตใช้คำย่อ หนังสือเดินทาง= พาส(พาสปอร์ต))
ในกรณีแรก คนไทย ใช้พาสเดิมคือไทย ออกจากประเทศไทย ไปอยู่เมืองนอกนานจนได้หนังสือเดินทางมาอีกเล่มเป็นของประเทศอื่นที่ไม่ใช่ไทย พอกลับเข้ามาประเทศไทย ขอใ้ห้ยื่นพาสไทยเล่มเดิม เพราะในการบันทึกข้อมูลนั้น ในระบบของตม. ข้อมูลการเดินทางของคุณยังเป็นหนังสือเดินทางเล่มนั้น คือมีการเดินทางออก การเิดินทางกลับเข้ามา ก็ต้องใช้เล่มเดิม เพีือให้ข้อมูลการเดินทางมีทั้งไปและกลับ ถือว่าจบการเดินทางใน 1 ครั้ง (คนไทยเริ่มต้นการเดินทางจากการออกนอกประเทศ จบการเดินทางจากการเข้าประเทศ) และในพาสเล่มไทยนั้น ตม.จะประทับตราขาออกไว้ การใช้เล่มเดิมกลับเข้ามาก็จะประทับตราขาเข้า คู่กัน ในกรณีหนังสือเดินทางไทยยังมีอายุอยู่....ใช้ตามที่บอกข้างต้น ในกรณีหนังสือเดินทางไทยหมดอายุแล้ว ถ้าทำใหม่ตั้งแต่อยู่เมืองนอกได้ ให้ทำเลย แต่ถ้าทำไม่ได้ ไว้ค่อยกลับมาทำที่เมืองไทยแต่ให้ถือเล่มไทยเล่มนั่นแหละเข้ามา แต่ เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้คุณไปทำเล่มใหม่ ในประเทศไทยให้เรีัยบร้อย ก่อนการเดินทางออกอีกครั้ง เพราะ นี่คือสิทธิของคนไทยที่จะอยู่ในประเทศไทย ให็ใช้ความเป็นคนไทยที่ถือหนังสือเดินทางไทยเข้าออกประเทศทุกครั้ง เพราะคุณจะอยู่ในเมืองไทยได้ไม่จำกัดเวลา หากคุณทำตามนี้คือ ออกไทย เข้าไทยแต่พาสหมดอายุ แต่..แต่...ไม่อยากทำพาสไทย เพราะเปลืองตังค์ ไม่มีเวลา ฯลฯ เลยอยากจะใช้พาสต่างชาติที่มีใหม่อยู่ในมือ ใช้ออกประเทศไทยเลยได้ไหม ในวันที่คุณจะกลับออกไปต่างประเทศอีกครั้ง ขอบอกว่า ไ่ม่ได้ เพราะ คุุณเข้ามาในประเทศในฐานะคนไทย ก็ต้องออกไปแบบคนไทย ตราประทับในพาสไทย ได้จบการเดินทางแล้วคือ มีคู่ ออกและเข้า แต่ในพาสต่างชาติของคุณ ไม่มีข้อมูลเดินทางเข้ามา จะให้มีข้อมูลเดินทางออกไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้น อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ไปทำพาสไทยเ่ล่มใหม่เถอะคะ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการเิดินทางในครั้งต่อๆไป
คำถามต่อมาคือ แล้วจะมีพาสต่างชาติไปเพื่ออะไร หรือเอามาใช้กับประเทศไทยได้อย่างไร ตอบ พาสต่างชาติ ขอให้ใช้เมื่อคุณออกมาจากบ้านเขา คุณออกบ้านเขาก็ให้ใช้พาสบ้านเขา พอเข้าบ้านเราก็ใช้พาสบ้านเรา ในการออกประเทศไทยอีกครั้ง พาสต่างชาติของคุณ จะแสดงว่าคุณมีพาสเล่มนี้โดยไม่ต้องใช้วีซ่าในพาสไทยอีกต่อไป ใช้แค่แสดงต่อตม. หรือ เคาท์เตอร์เช็คอิน ว่าคุณเข้าประเทศนั้นๆได้ โดยไม่ต้องขอวีซาเพราะคุณมีพาสของเขาแล้ว เป็นพลเมืองบ้านเขาแล้ว
ส่วน กรณีที่สอง เป็นคนไทยแต่พาสเล่มแรกเป็นพาสต่างชาติ แล้วครั้งแรกที่เ้ข้าเมืองไทยก็ใช้พาสต่างชาติ แต่ในระยะเวลาที่อยู่เมืองไทยคิดไปคิดมาอยากมีพาสไทย เพื่อใช้สิทธิความเป็นคนไทยอยู่ในราชอาณาจักร ก็ไปทำพาสไทยที่กรมการกงสุลที่แจ้งวัฒนะ พอจะออกก็จะใช้พาสไทยออก งานนี้ถือว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ประเด็นคือ ถ้าคุณอยู่ในไทย ตามเวลาที่ได้จากขาเข้า ถ้า ไม่อยู่เกินกำหนด เจ้าหน้าที่อาจจะ เน้น ว่าอาจจะ ตีให้(ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสารวัตรด้วย)การเดินทางออกครั้งนี้คุณอาจจะคิดว่าแก้ปัญหาได้แล้ว แต่ ย้ำว่า แต่ ในการเดินทางกลับมาครั้งหน้า ถ้าคุณจะใช้เล่มต่างชาติเข้าไทย คุณก็จะมีปัญหากับขาเข้า เพราะคุณมีตราประทับขาเข้าค้างไว้ เนื่องจากตราขาออกในการเดินทางครั้งนั้น ไปอยู่ในพาสไทยที่คุณทำในเมืองไทยครั้งก่อน การ์ดขาออกก็จะยังติดอยู่ในเล่ม (แม้คุณจะดึงออกเพื่อให้ไม่มีหลักฐาน แต่ตราประทับก็จะค้างไว้เป้นหลักฐาน) เจ้าหน้าที่จะไม่ประทับตราในพาสต่างชาติเล่มนั้นให้คุณ อาจจะประทับตราขาเข้าในพาสไทยที่คุณมีอยู่นั่นแหละ แต่พาสต่างชาติที่คุณมีอยู่จะไม่สามารถใช้เข้าไทยได้อีกเลย ตัวคุณหนะ เข้าได้ แต่ก็ต้องใช้พาสไทยที่คุณทำไว้ตอนมาอยู่ในไทยแล้ว (เราเรียกว่าการเลี่ยงบาลี คุณอาจคิดว่าุคุณทำได้ แต่คุณกำลังสร้างปัญหาและเงื่อนไขให้กับตัวเอง ถ้าโดนตม.กักตัวไว้นานเพื่อสอบถามและตรวจสอบข้อมูลก็จงอย่าอารมณ์เสีย และโวยวาย เพราะคุณทำตัวคุณเอง เพราะมันผิดมาตั้งแต่เริ่มแล้ว) แล้วถ้าคุณยังไม่ได้เริ่มมีพาสไทย แต่อยากมีไว้เ้ข้าไทย จะทำยังไง อ่านคำถามต่อไปซิ
คำถามต่อมา คือ แล้วถ้าอยากใช้สิทธิความเป็นคนไทยให้ถูกต้อง แต่มีพาสต่างชาิติ จะทำอย่างไร
ในกรณีนี้ คุณ เข้ามาครั้งแรก ในฐานะ คนต่างชาติ คุณจะได้รับสิทธิการอาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบคนต่างชาิติดูได้ในตราประทับขาเ้ข้่าว่าเจ้าหน้าที่ไทย ได้ประทับตราให้คุณกี่วัน(ประเทศไม่need visa=30วัน , ถ้า need ก็ 60 วัน) ซึ่งหากคุณต้องการใช้ความเป็นคนไทยในการกลับเข้าประเทศ ขอให้คุณไปทำหนังสือเดินทางไทย ที่สถานทูตไทยในประเทศที่คุณอยู่ เพราะในหน้ารายละเอียดพาส เค้าจะระบุที่เกิดของคุณ ว่าเป็น ต่างประเทศ คุณสามารถใช้เล่มไทยที่ำทำจากต่างประเทศกลับเข้ามาในฐานะคนไทยได้เลย โดยเจ้าหน้าที่จะตีตราขาเข้าให้ แต่จะระบุไว้ล่างตราว่า "เด็กเกิดในต่างประเทศ" เพื่อเป็นการเริ่มต้นในการใช้หนังสือเดินทางเล่มนี้ในครั้งต่อๆไป เพื่อเจ้าหน้าที่คนที่ต้องประทับตราคนต่อไปในการตรวจออกประเทศจะได้ไม่สงสัยว่า แล้วตราขาออกครั้งก่อนอยู่้ไหน ทำไมถึงมีตราขาเข้าอยู่ตราเดียว ก็จะทำให้เขาเข้าใจว่า คุณคือคนไทยที่ได้พาสไทยมาจากต่างประเทศ ส่วนเล่มต่างชาติ ก็ให้แสดงว่ามีพาสต่างชาิตนะ แต่เจ้าหน้าที่จะตีตราขาเข้าให้ในพาสไทย เพราะทราบได้ทันทีว่าคุณเจตนาจะกลับเข้ามาเป็นคนไทย ใช้สิทธิคนไทยเข้าประเทศ แต่หากคุณอยากใช้พาสต่างชาติ เข้าไทย แม้ว่าจะมีพาสไทยที่ทำจากต่างประเทศ หากอยู่ไม่กี่วัน(ตามสิทธของพาสชาตินั้นๆ ส่วนใหญ่จะ30 วันไม่มีวีซ่า พวกพาสฝรั่ง) ก็ไม่ต้องโชว์ว่ามีพาสไทย เก็บในกระเป๋าไปเลย และห้ามเอาออกมาแสดงตอนขาออก เพราะคุณเข้ามาแบบต่างชาติ ก็ออกไปแบบต่างชาติ (การเดินทางของต่างชาติเริ่มจากการเข้าประเทศ จบโดยการออกประเทศ)แล้วครั้งหน้าถ้าอยากเป็นคนไทย ก็ค่อยแสดงพาสไทยตอนเข้าไทย (ย้ำนะ ว่าต้องเป็นพาสไทยที่จากสถานทูตไทยในต่างประเทศ กรณีคนไทยเกิดต่างประเทศ หรือ คนไทยทำพาสเล่มใหม่ขณะที่ตัวเองยังอยู่ต่างประเทศเนื่องจากพาสหาย หรือพาสหมดอายุ เจ้าหน้าที่ก็จะประทับตราขาเข้า แล้วระบุว่า ตราขาออกอยู่ในเล่มเก่า ..เดี๊ยวจะอธิบายต่อข้างล่าง)
ปัญหาที่มักจะพบเจอ แล้วต้องมาถกเถียงกันเป็นประจำของกรณีนี้คือ รู้สิทธิ แต่ไม่รู้หน้าที่ มีพาสต่างชาิติ แต่ใช้ไม่ถูก หรือไม่เป็น แล้วไม่ถาม คือ คุณเป็นคนไทย มีพาสไทย ออกไทยด้วยพาสไทย แต่ไปอยู่เมืองนอก ได้พาสเมืองนอกมา กลับเข้ามา แสดงพาสของเมืองนอก (พาสต่างชาติ) ยืนยันว่าจะใช้พาสต่างชาิติเล่มนี้ที่ได้ใหม่ ว่าจะใช้ จะเป้นคนชาตินั้้นๆ ไม่เป็นแล้วคนไทย ...อืม...ก็ได้ เจ้าหน้าที่จะมีทางเลือกในการพิจารณาอยู่สองทาง คือ หนึ่ง ขอให้คุณแสดงพาสไทย เพื่อให้จบการเดินทาง ประทับตราขาเข้าให้คู่กับขาออก แล้วคุณก็จะได้สิทธิอยู่ไทยแบบไม่จำกัด แม้คุณจะอยู่ไม่กี่วันก้แล้วแต่ สอง หากคุณยืนยันจริ๊งจริง ว่า คุณไม่ใช้คนไทยอีกต่อไป ฉันจะเป็นคนต่างชาติ ...อืม ...เจ้าหน้าที่จะประทับตราให้คุณ ตามสิทธิพาสต่างชาติที่คุณถือ โดยส่วนใหญ่ที่คุณได้กันมาจะเป็นพาสฝรั่งก็อยู่ในไทยได้ สามสิบวัน โดยไม่ต้องมีวีซ่า ในกรณีนี้ ถือว่า คุณเข้ามาในไทยโดยใช้สิทธิต่างชาติ อยู่ได้ตามที่ตม.กำหนดให้เท่านั้น หากอยู่เกินก็ต้องโดนปรับวันละ 500 บาท แต่ไม่เกิน 20000 บาท โดยที่คุณไม่มีสิทธิมาอ้างว่าคุณเป็นคนไทย เกิดในไทย พูดไทยได้ หน้าไทย พ่อแม่เป็นไทย ขอให้เงียบไปเลยถ้าจะมาเถียงในประเด็นนี้ เพราะคุณใช้สิทธิต่างชาติเข้ามาในไทย ย้ำ ก็ต้องออกไปแบบคนต่างชาติ จะควักพาสไทยมาบังคับให้ตม.ตีออกให้ เราไม่ทำจ๊ะ อีกอย่าง ในกรณีที่ถ้าไม่มีเงินเสียค่าปรับ หรือว่าไม่จ่าย ยังไง๊ยังไงก็ไม่จ่าย เราก็จะยกเลิกการเดินทางออกครั้งนี้ของคุณ พร้อมกับทำการจับกุมคุณส่งฟ้องศาล ให้ศาลเป็นผู้ปรับ แล้วคุณก็ต้องไปยังตม.สวนพลู เพื่อให้สวนฟลูตีตราประทับผลักดันคุณออกนอกประเทศ แล้วค่อยกลับมาเช็คอิน และเข้าตม.เพื่อเดินทางออกอีกครั้ง (เรื่องมันยาว อย่าทำให้เป็นปัญหาจะดีที่สุด แต่ถ้าใครคิดว่าทำแล้วดี ก็ทำ ไม่ว่ากัน)
ส่วนกรณีที่คนไทย ออกไทย ด้วยพาสไทย แต่พาสหมดอายุขณะที่อยู่ต่างประเทศ ถ้าคุณอยู่ต่างประเทศนานนนนนนนแต่สามารถทำพาสใหม่ได้ ก็ทำเลย จะถือพาสเล่มเก่าเดินทางเข้ามาด้วยก็ได้ ถ้าสถานทูตไม่เก็บพาสเก่าไว้ก็ถือมาเลย แล้วเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเองว่าจะตีเล่มใหม่หรือเล่มเก่า โดยแนวทาง ถ้ามีพาสเล่มใหม่มา จะประทับตราขาเข้าในเล่มใหม่โดยระบุว่า ตราขาออกอยู่ในเล่มเก่า โดยเจ้าหน้าทีสามารถตรวจสอบได้จากตราประทับขาออกในพาสเก่า หรืออ้างอิงได้จากฐานข้อมูลเดิม เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาใหญ่นัก หากคุณทำตามขั้นตอนนี้ คือ เข้าพาสไทย ออกพาสไทย (ประมาณว่า ทำยังไงก็ได้ขอให้มีพาสไทยกลับเข้่าประเทศอีกครั้ั้ง) หากมีปัญหา ก็สามารถถามเจ้าหน้าที่ที่เคาท์เตอร์ได้เลย หรือถ้าเค้าตอบไม่เ้ข้าใจ ก็ถามsupervisorต่อก็ได้)
เพราะฉะนั้น ขอให้คนไทยทุกคนที่มีพาสต่างชาิติ ทำอะไรให้ง่ายๆตามขั้นตอน ใช้สิทธิให้ถูกต้อง ให้ถูกที่ ถูกเวลา คุณก็จะเดินทางได้อย่างไม่มีปัญหา happy , win-win ทั้งตม.และคุณ นะจ๊ะ
ปล. ในการแก้ปัญหาแต่ละครั้งให้กับเคสแบบนี้หรือเคสอื่นๆ ทางตม.มีเจตนาและหวังดีกับคนไทยทุกคนเพื่อให้ทำตามกฎในการมีและใช้ หนังสือเดินทางได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่แค่ผลดีนั้นจะเกิดขึ้นแต่กับตัวตม.อย่างเีดียว คุณคือผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงเพราะมันเป็นพาสของคุณ สิทธิของคุณ อยากให้เข้าใจว่า ในการที่คุณเดินทางแต่ละครั้ง หนึ่งตราประทับของเรา คือ ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คนนั้นๆในตัวคุณ การที่เค้าต้องถามละเอียดหรือตรวจสอบข้อมูลหลายๆอย่าง ก่อนจะประทับตราลงไป เค้าต้องคิดดีแล้ว หรือเห็นสมควรแล้วเนื่องจากแต่ละคนจะมีรหัสในตราประทับให้รับผิดชอบ หากเกิดเรื่องอะไรขึ้นมากับพวกคุณ ก็จะเป็นพวกเรานี่แหละ ที่ต้องเขียนรายงานชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งบางเรื่องไม่ใช่ความผิดของเราเลย แต่เกิดจากความไม่รู้ หรือ รู้ไม่จริงของผู้โดยสารบางคน กลับกลายเป็นความผิดของตม.แทน เพราะฉะนั้น ต้องขอความร่วมมือจากทุกท่าน ให้ทำหน้าที่ของตนให้อย่างถูกต้อง เพื่อความสะดวกในการเดินทางแต่ละครั้งของท่าน ... ขอบคุณค่ะ
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
maeooy
Senior Member
Joined: 03 Jan 2012
Online Status: Offline
Posts: 603
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 24 Aug 2013 at 17:50 - IP: 49.187.18.11  |
|
|
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 24 Aug 2013 at 21:01 - IP: 124.171.246.101  |
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 11 Sep 2013 at 22:12 - IP: 124.171.246.101  |
ขอเอาข้อมูลมาเก็บไว้เผื่อค้นข้อมูลช่วย คนที่เจอปัญหา แพตจะได้มาเอาข้อมูลช่วยคนได้ง่ายขึ้นเกี่ยวกับ ศูนย์ ช่วยเหลือ ปัญหาครอบครัว เพราะวันนี้ได้ยินเรื่องมาอีกแล้ว พ่อเลี้ยงฝรั่งในเพิร์ท ข่มขืนลูกที่ติดตามแม่มา นานแต่ลูกไม่กล้าบอกแม่จนสุดทนมาบอก กว่าแม่จะรู้ก็สายมากแล้ว...เฮ้อเวรกรรม...
ข้อมูลสำหรับในเพิร์ทนะคะ
Crisis Care Helpline |
Available: 24 hours a day, seven days a week. Telephone Crisis Care when: - you need someone to help sort out a serious problem
- you are concerned about the wellbeing of a child
- you are escaping domestic violence and need help arguements are causing unhappiness and problems in your family
- you are alone or afraid and urgently need to talk to someone
- you are homeless
- you need counselling, information or other support
|
Contact Information: |
Edited by patty11 - 11 Sep 2013 at 22:13
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 24 Sep 2013 at 21:15 - IP: 124.171.246.101  |
ตัวอย่างคนอยู่ในไทย แต่ต้องการหย่ากับสามีที่อยู่ในออสเตรเลีย
สวัสดีค่ะ เมื่อเดือนธันวาคม ปี ๒๐๐๘ ดิฉันเดินทางไปออสเตรเลียด้วยวีซ่านักเรียน ๖ เดือน วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๐๐๙ ได้จดทะเบียนกับชาวออสเตรเลีย ที่ออสเตรเลีย และอีกไม่เกิน ๒ อาทิตย์ เดินทางกลับประเทศไทยด้วยกันค่ะ สามีอยู่ด้วยกัน จนถึง ธันวาคม ๒๐๑๐ ( ประมาณ ๑๘ เดือน ) และสามีเดินทางกลับไปหางานทำที่ออสเตรเลียต่อ แต่ดิฉันรอที่เมืองไทย เพื่อทำวีซ่าไปอีกครั้ง ในปี ๒๐๑๑ ทั้งปี ดิฉันโทรคุยกับสามี แต่ ในปี ๒๐๑๒ ดิฉันไม่ได้โทรคุยเหมือนเดิม เพราะเขาไม่เคยโทรมา ไม่เคยดูแล และไม่เคยสนใจที่จะทำวีซ่า ตั้งแต่ปี ๒๐๑๒ ถึงปัจจุบัน ดิฉัน โทรหาเขาแค่ ๒ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๓ โทรไปเบอร์เขาไม่ใช้แล้ว โทรไปที่บ้านแม่สามีก็บอกว่าเขาไม่อยู่ไปเมืองอื่น ดิฉันขอถามว่า ๑. ดิฉันควรทำเรื่องหย่าอย่างไร ไปทำที่ออสเตรเลียง่ายกว่าหรือไม่ ๒. ไม่เจอสามีควรทำอย่างไร เราต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ๓. ถ้ายังหย่าไม่ได้ ดิฉันมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐบาลดูแลหรือเรื่องวีซ่าอย่างไรค่ะ หรือสามารถไปทำงานใดได้บ้าง ๔. ถ้าดิฉันขอทำวีซ่าทองเที่ยว เพื่อไปตามสามีเพื่อหย่า จะได้วีซ่าหรือไม่คะ ขอความกรุณาทางสำนักงานฯ ช่วยให้คำตอบดิฉันด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณค่ะ |  | « ถาม 12 กันยายน 2556 » | |
| |
|
|  จากที่คุณให้ข้อมูลมาว่า คุณเดินทางไปออสเตรเลียด้วยวีซ่านักเรียนต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับสามีชาวออสเตรเลียที่ประเทศออสเตรเลียและได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อมสามี สุดท้ายสามีเดินทางกลับไปทำงานที่ออสเตรเลียและไม่ได้ติดต่อกลับมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๒ ปี อีกทั้งย้ายที่อยู่ติดต่อไม่ได้ คุณได้ขอคำแนะนำเรื่องการหย่า นั้น สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ขอเรียนว่า ๑. เนื่องจากคุณจดทะเบียนสมรสในประเทศออสเตรเลียตามกฎหมายออสเตรเลีย หากคุณประสงค์จะให้การหย่ามีผลบังคับตามกฎหมายออสเตรเลีย คุณต้องดำเนินการที่ประเทศออสเตรเลีย เพราะการหย่าตามกฎหมายออสเตรเลียจะกระทำได้ต้องอาศัยคำสั่งศาล และในหนังสือคู่มือคนไทยในออสเตรเลีย ซึ่งจัดทำโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์ร่า นั้น ไม่รับการจดทะเบียนหย่าในกรณีดังกล่าว หากคุณประสงค์จะไปฟ้องหย่าที่ออสเตรเลีย คุณต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๒. ส่วนการฟ้องหย่าในเมืองไทยแม้จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่คำพิพากษาของศาลไทยไม่มีสภาพบังคับในประเทศออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่มีการหย่า คุณก็ยังมีสถานะภาพการสมรส โดยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีชาวออสเตรเลีย คุณอาจร้องขอความช่วยเหลือจากทางการออสเตรเลียได้ในฐานะภริยาของชาวออสเตรเลีย ส่วนการยื่นคำขอวีซ่าเพื่อขอทำเรื่องขอพำนักอยู่ในออสเตรเลียนั้น แม้คุณจะยื่นขอวีซ่าในฐานะคู่สมรสได้แต่ปัญหาของคุณในขณะนี้คือการขอทำวีซ่าเข้าประเทศออสเตรเลีย สามีชาวออสเตรเลียของคุณจะต้องเป็นผู้เซ็นรับรองคำร้องขอวีซ่าของคุณในฐานะภริยาหรือคู่สมรสของสามีชาวออสเตรเลีย ในเมื่อสามีไม่ยอมติดต่อกับคุณ คุณจึงควรสอบถามไปยังที่สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยว่าควรดำเนินการอย่างไรสำหรับการขอวีซ่าเข้าประเทศออสเตรเลีย จาก สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ |  | « ตอบ#1 12 กันยายน 2556 » |
|
|
|
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |
blackberry
Senior Member
Joined: 11 Oct 2011
Location: Australia
Online Status: Offline
Posts: 129
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 25 Sep 2013 at 07:21 - IP: 1.123.21.210  |
มีข้อสงสัยอยากจะถามคุณ แพท ว่า ถ้าในกรณี นี้ นะคะ คือถ้าเราได้ ซิติเซ้น แล้ว และมี พาสปอร์ต ออส แล้ว ใช้ในเฉพาะ ในการ เดินทางเข้าออก จาก ออส แค่นั้น แล้ว พาสไทยเรา ก็ใช้ในการเดินทางเข้าออก เฉพาะ ไทย แต่ก่อน ที่เราจะได้ซิติเซ่น พาสไทยเรา ก็ยังมี วีซ่า เข้าออสเตรเลีย ใช่มั้ยคะ แล้วเมื่อเราได้ ซิติเซ่นแล้ว ในพาสไทยเรายังจะมีซิติเซ่นค้างอยู่มั้ย ในกรณีที่ พาสปอร์ต และวีซ่า เรายังไม่หมออายุ มันจะมีปัญหา กับการเดินทาง เข้าออก ไทย ครั้งหน้า มั้ย คือ การเดินทางครั้งหน้า แน่นอนล่ะ เราจะใชพาส ออส ตอนออก จาก ออส พอไปถึง ต.ม ไทย ก็จะใช้ พาส ไทยล่ะ แล้ว ตอน เราจะออก จาก ไทย เรา ก็ยังใช้ พาส ไทย เพื่อ ออก แล้ว เรายังจะมีปัญหา กับ ขาออก ไทย มั้ยคะ คือ ทุกครั้ง ก่อน ที่จะได้ ซิติเซ่น เรา ออก จากไทย เข้าไทย เรา มี วีซ่า แต่ หลังจาก ที่เรา ได้ซิติเซ่น แล้ว วีซ่า เรา ก็ไม่มี จะมีแค่ พาสปอร์ต ไทย ที่โชว์ ยังไม่ได้ ซิติเซ่นหรอกค่ะ ถามเผื่อไว้ ถ้าวันนึงเราได้แล้วจะได้ไม่มีปัญหาที่ ต.ม
|
|
|
 |
patty11
Senior Member
PR สะใภ้จิงโจ้
Joined: 27 May 2010
Location: th/wa
Online Status: Offline
Posts: 5885
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 26 Sep 2013 at 12:42 - IP: 124.171.246.101  |
Originally posted by blackberry
มีข้อสงสัยอยากจะถามคุณ แพท ว่า ถ้าในกรณี นี้ นะคะ คือถ้าเราได้ ซิติเซ้น แล้ว และมี พาสปอร์ต ออส แล้ว ใช้ในเฉพาะ ในการ เดินทางเข้าออก จาก ออส แค่นั้น แล้ว พาสไทยเรา ก็ใช้ในการเดินทางเข้าออก เฉพาะ ไทย แต่ก่อน ที่เราจะได้ซิติเซ่น พาสไทยเรา ก็ยังมี วีซ่า เข้าออสเตรเลีย ใช่มั้ยคะ แล้วเมื่อเราได้ ซิติเซ่นแล้ว ในพาสไทยเรายังจะมีซิติเซ่นค้างอยู่มั้ย ในกรณีที่ พาสปอร์ต และวีซ่า เรายังไม่หมออายุ มันจะมีปัญหา กับการเดินทาง เข้าออก ไทย ครั้งหน้า มั้ย คือ การเดินทางครั้งหน้า แน่นอนล่ะ เราจะใชพาส ออส ตอนออก จาก ออส พอไปถึง ต.ม ไทย ก็จะใช้ พาส ไทยล่ะ แล้ว ตอน เราจะออก จาก ไทย เรา ก็ยังใช้ พาส ไทย เพื่อ ออก แล้ว เรายังจะมีปัญหา กับ ขาออก ไทย มั้ยคะ คือ ทุกครั้ง ก่อน ที่จะได้ ซิติเซ่น เรา ออก จากไทย เข้าไทย เรา มี วีซ่า แต่ หลังจาก ที่เรา ได้ซิติเซ่น แล้ว วีซ่า เรา ก็ไม่มี จะมีแค่ พาสปอร์ต ไทย ที่โชว์ ยังไม่ได้ ซิติเซ่นหรอกค่ะ ถามเผื่อไว้ ถ้าวันนึงเราได้แล้วจะได้ไม่มีปัญหาที่ ต.ม
| พาสไทยไม่มีปัญหาหรอกค่ะ เพราะเขามีข้อมูลคุณ ไว้ใน บาร์โค้ด ตลอดชีพแล้วละคะ ถ้าคุณ แนบ พาสออสไว้เพื่อ โชว์เจ้าหน้าที่ตม.ในอนาคต ทุกอย่างก็เคลียร์ ยังไม่เคยเจอใครมีปัญหาใดๆในการเดินทาง เข้าออกนะคะ เท่าที่ตามอ่านเรื่อง ของ บุคลคลที่ใช้ 2 พาสนะคะ ไม่ต้องไปกังวลหรอกคะ ไปไหน ให้พก 2 เล่ม เจ้าหน้าที่เขาเข้าใจค่ะ ส่วนมากปัญหาที่เคยเห็นเกิดจากสาวไทยเราเข้าไทยโชว์พาสต่างประเทศตอนเข้า แล้วอยู่เกิน 30 วันมากกว่าที่จะมีปัญหากับ ตม. เพราะเขาลงตราคุณคนนั้น เป็นเหมือนฝรั่งเข้ามาไทยไม่ใช่คนไทยค่ะเลยจะมีปัญหา นะคะ
|
|
Wellcome to My world! Always Put yourself in others shoes.
|
 |