สวัสดีค่ะ วันนี้ว่างเลยนำข้อมูล การทำหนังสือเดินทาง มั่นตรวจสอบหนังสือเดินทางกันบ่อยๆน่ะค่ะ.
หลักเกณฑ์ทั่วไป
1. หนังสือเดินทางไทย มี 4 ประเภท ได้แก่ หนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปและหนังสือเดินทาง ชั่วคราว
2. หนังสือเดินทางไทยจะออกให้เฉพาะบุคคลสัญชาติไทย เท่านั้น
3. บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) ให้ยื่นคำขอต่อสถานเอกอัครราชทูตฯด้วยตนเอง
4. ในกรณีผู้ร้องที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดามารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาลงนามยินยอมชดใช้ค่าเสียหายในแบบคำร้องต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย หากมาแสดงตนพร้อมกันไม่ได้ให้ผู้ที่ไม่มาทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมตามเงื่อนไขและแบบวิธีที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด
5. พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอหรือแก้ไขหนังสือเดินทางในกรณีดังต่อไปนี้
5.1 เมื่อผู้ร้องมีหนังสือเดินทางประเภทเดียวกันที่ยังคงใช้ได้อยู่
5.2 เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกำลังรับโทษในคดีอาญาหรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่มีหมายจับไว้แล้วซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่าไม่ควรออกหนังสือเดินทางให้
5.3 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจตามกฎหมายอื่นสั่งห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
5.4 เมื่อผู้ร้องกระทำผิดกฏหมายหรือระเบียบปฏิบัติทางราชการซงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือปิดบังความจริงอันเป็นเท็จอันเป็นสาระสำคัญหรือแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอหนังสือเดินทางหรือไม่อยู่ในฐานะที่จะเดินทางไปต่างประเทศได้หรือหากเดินทางออกนอกราชอาณาจักรจะเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของผู้เดินทางเองหรือจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงปลอดภัยหรือชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทย ึ่
5.5 พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอและออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ร้องซึ่งหนังสือเดินทางเดิมสูญหายเกินกว่า 2 ครั้งในรอบ 1 ปี นับจากวันขอครั้งแรกจนกว่าบุคคลผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการสูญหายโดยสุจริต
6. พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยกเลิกและเรียกคืนหนังสือเดินทางได้เมื่อปรากฎว่า
6.1 ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นผู้ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะขอหนังสือเดินทางประเภทนั้น
6.2 ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลที่ไม่อาจออกหนังสือเดินทางให้ได้
6.3 มีเหตุเชื่อได้ว่าผู้ถือหนังสือเดินทางได้หนังสือเดินทางนั้นมาโดยมิชอบ
6.4 หนังสือเดินทางนั้น อยู่ในครอบครองของบุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุผลอันควร
6.5 ทางราชการได้ทดรองจ่ายเงินช่วยเหลือส่งตัวผู้ถือหนังสือเดินทางกลับประเทศไทย
และผู้ถือได้ทำสัญญากับทางราชการว่าจะชดใช้เงินจำนวนที่ทางราชการได้ทดรองจ่ายไปคืนให้ทางราชการแต่ผู้ถือยังไม่ได้ชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการจนครบตามเงื่อนไขในสัญญา
6.6 พิจารณาเห็นว่า หากให้ผู้ถือหนังสือเดินทางยังคงอยู่ในต่างประเทศต่อไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทย หรือต่างประเทศได้
7. กระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจยึดหนังสือเดินทางที่ถูกยกเลิกจากผู้ถือหนังสือเดินทางหรือผู้ครอบครองหนังสือเดินทางและมีอำนาจยึดเล่มหนังสือเดินทางจากผู้ครอบครองซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในการครอบครองได้
8. ในกรณีที่ผู้ร้องสะกดชื่อภาษาอังกฤษออกเสียงแตกต่างจากภาษาไทยอย่างชัดเจนจนทำให้เข้าใจผิดในตัวบุคคลพนักงานเจ้าหน้าที่อาจสะกดชื่อให้โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์แห่งประกาศราชบัณฑิตยสถาน
9. เงินค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางซึ่งผู้ยื่นคำร้องได้ชำระให้แก่ทางราชการไปแล้วนั้น ไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใด
10. กระทรวงการต่างประเทศสงวนสิทธิที่จะทำลายหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับหนังสือเดินทางซึ่งออกให้แก่ผู้ร้องไว้แล้วแต่ไม่มีผู้มารับหนังสือเดินทางนั้นตามกำหนดเวลานัด เป็นเวลาเกินกว่า 90 วันขึ้นไป
เอกสารประกอบคำร้อง
1. กรณีบรรลุนิติภาวะ
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ ตามที่กฏหมายรับรอง
- บัตรข้าราชการ (กรณีหนังสือเดินทางราชการ)
- หนังสือจากหน่วยงานต้นสังกัดอนุมัติให้เดินทางไปราชการหรือศึกษาต่อ (หนังสือเดินทางราชการ)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม
- หนังสือแจ้งความจากตำรวจท้องถิ่น (กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย)
- สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม (กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (หากมี)
2. กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ
- สูติบัตรไทยหรือบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนกันได้ตามที่กฏหมายรับรอง
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของบิดาและมารดาหรือหลักฐานแสดงความเกี่ยวพันและการมีอำนาจปกครองผู้ร้อง
- ทะเบียนสมรสของบิดาและมารดา หากเป็นทะเบียนสมรสของต่างประเทศต้องแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษและรับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศของประเทศเจ้าของเอกสารก่อน
3. กรณีพระภิกษุและสามเณรในพระพุทธศาสนา
- ใบสุทธิพระภิกษุ/สามเณร
- สำเนาทะเบียนบ้าน/วัด
- สำเนาใบตราตั้งกรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง
- เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศจากมหาเถรสมาคม
ข้อพึงระวัง
- หนังสือเดินทางจะออกโดยอ้างถึงกับข้อมูลทะเบียนราษฎรตามที่ปรากฎในบัตรประชาชนเป็นหลัก
- กรณีมีการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือนามสกุล และผู้ร้องต้องการใช้ชื่อและนามสกุลใหม่ในหนังสือเดินทางผู้ร้องต้องดำเนินการเปลี่ยนข้อมูลในบัตรประชาชนให้ถูกต้องก่อนยื่นขอหนังสือเดินทาง
- ควรเปลี่ยนหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ก่อนหนังสือเดินทางฉบับเดิมหมดอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน
หลักเกณฑ์การออกหนังสือเดินทางประเภทต่างๆ
1. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปแบบอิเล็กทรอนิกส์
1.1 เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 เป็นต้นไป ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางแบบเดิมต้องยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางแบบใหม่ (อิเล็กทรอนิกส์)เมื่อหนังสือเดินทางแบบเดิมหมดอายุลง ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯไม่สามารถต่ออายุหนังสือเดินทางฉบับเดิมได้
1.2 หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปมีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้
ค่าธรรมเนียม 100 สว๊อตตี้
ระยะเวลาการบริการ 40 นาที (นัดหมายวันและเวลาล่วงหน้า)
ระยะเวลารอรับเล่ม ระหว่าง 1 - 1.5 เดือน
2. หนังสือเดินทางชั่วคราว
2.1 ออกให้แก่บุคคลที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือเสียหายจนใช้การไม่ได้หรือหนังสือเดินทางขาดอายุระหว่างอยู่ต่างประเทศแต่มีหลักฐานประกอบการขอออกหนังสือเดินทางครบถ้วนและประสงค์จะเดินทางเป็นการเร่งด่วนโดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้แทนได้
2.2 สถานเอกอัครราชทูตฯ จะพิจารณาออกหนังสือเดินทางชั่วคราว เป็น รายกรณีโดยพิจารณาตามความเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสม ทั้งนี้ในกรณีของผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือบุคคลทั่วไปที่เดินทางผ่านสาธาณรัฐเช็กในลักษณะท่องเที่ยว หรือราชการ ภายในเวลาอันสั้นสถานเอกอัครราชทูตฯ จะพิจารณาออกหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity) เพื่อใช้แทนหนังสือเดินทางสำหรับเดินทางกลับประเทศไทยก่อนเป็นอันดับแรก
2.3 หนังสือเดินทางชั่วคราว มีอายุ 1 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้
ค่าธรรมเนียม 20 สว๊อตตี้
ระยะเวลาการบริการ 2 ชั่วโมง
3. หนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity) ออกให้กรณีต่อไปนี้
3.1 เมื่อหนังสือเดินทางของบุคคลนั้นถูกยกเลิก
3.2 เมื่อบุคคลนั้นไม่มีหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางสูญหาย หรือเสียหายจนใช้การไม่ได้หรือหนังสือเดินทางขาดอายุแต่มีหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าบุคคลนั้นมีสัญชาติไทยและประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย
3.3 หนังสือสำคัญประจำตัวมีอายุตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 6 เดือนใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเป็นอันหมดอายุไม่สามารถต่ออายุได้อีก
ค่าธรรมเนียม ไม่เสีย
ระยะเวลาการบริการ 1 ชั่วโมง